ความเป็นมาของภาษามลายู
ภาษามลายู เป็นภาษาแขนงหนึ่ง ในบรรดา ๑๖๐ กว่าภาษา ที่ใช้สื่อสาร กันบนหมู่เกาะสุมาตรา หรือใน สมัยอดีตเรียกว่าหมู่เกาะมลายู ซึ่ง ในปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย ภาษามลายูเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นในการใช้กลุ่มคำและเสียง อักขระที่ง่ายไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป สามารถนำไปปรับใช้กับภาษาอื่น ๆ ได้ดีด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่น ดังกล่าว จึงทำให้ภาษามลายูมีบทบาท เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง และ ได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ มีประชากรที่ใช้ ภาษามลายูในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่น้อยไปกว่า ๒๐๐ ล้านคน กระจาย ไปตามภูมิภาค และประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, ศรีลังกา, ติมอร์เลสเตร์, แอฟริกา และภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ภาษามลายูนั้นถือว่าเป็นภาษาพื้น เมืองหรือภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของ คนไทยเชื้อสายมลายู ที่อาศัยอยู่ ในบริเวณสี่จังหวัดภาคใต้อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดยะลา, จังหวัดสตูล และ ส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา ต่อมา ภาษามลายูได้กลายเป็นภาษาที่มี บทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกลุ่ม ประเทศอาเซียน กล่าวคือมีฐานะ เป็นภาษาแห่งชาติ (The National Language) ของประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และบรูไน แต่อันเนื่อง มาจากเหตุผลทางด้านการเมืองของ แต่ละประเทศ จึงใช้ชื่อเรียกที่ไม่ เหมือนกัน ดังเช่นประเทศอินโดนีเซีย จะเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซียจะเรียกว่าภาษา มาเลเซีย ส่วนประเทศบรูไนไม่มี ความขัดแย้งทางด้านการเมืองจึงยัง คงเรียกภาษามลายูเหมือนเดิม อักษรมลายู ตัวอักษรที่ใช้เขียนภาษามลายู ปัจจุบันนั้นมี ๒ ชนิด คือ อักษรญาวี (Huruf jawi) และอักษรรูมี (Hurut rumi) อักษร ญาวี (Huruf jawi) นั้น ได้แก่ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียน ภาษามลายูชนิดหนึ่ง ได้มาจากการเลียนแบบตัวอักษรอาหรับ ประดิษฐ์ คิดค้นเพิ่มเติมและเทียบเสียงให้ใกล้ เคียงกับเสียงในภาษามลายูมากที่สุด โดยชาวอาหรับที่มาเผยแผ่ศาสนา อิสลามในบริเวณหมู่เกาะมลายู ซึ่งนักวิเคราะห์ได้สันนิษฐานว่า อักษรดังกล่าวเริ่มมีการใช้พร้อม ๆ กับการเข้ามาของศาสนาอิสลาม เมื่อประมาณศตวรรษที่ ๑ แห่ง ฮิจเราะห์ศักราช หรือประมาณ ค.ศ. ๑๓๐๓ มาแล้ว ที่มาของคำว่า ญาวี (jawi) คำว่าญาวีนั้น บรรดานัก วิเคราะห์ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับ ความเป็นมาของภาษามลายูในหมู่ เกาะมลายู ได้เห็นพ้องกันว่าเป็น ภาษาชวาชั้นสูง (ภาษาวรรณกรรม) ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ญาวา (jawa) แปลว่า นอก ซึ่งหมายถึงหมู่เกาะที่อยู่ ในบริเวณรอบนอกของเกาะสุมาตรา ส่วนนักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งให้ ความเห็นว่าน่าจะมาจากคำว่า เญ๊า-วา ในภาษาอาหรับแปลว่า ล่างหรือใต้ ซึ่งเป็นคำสมญานามที่ชาวอาหรับ ใช้เรียกกลุ่มชนแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอาศัย อยู่บริเวณหมู่เกาะมลายูโดยทั่วไป แล้วคำว่า ญาวี หมายถึงชื่อของตัว อักษรมลายูชนิดหนึ่งที่ชาวมลายู นิยมใช้เขียนเพื่อติดต่อสื่อสารกัน ไม่ใช่เป็นชื่อของภาษาตามที่บุคคล บางกลุ่มเข้าใจกัน อักษร รูมี (Huruf rumi) หรือ (Huruf latin) ได้แก่ ตัวอักษร ที่ใช้เขียนในภาษามลายูชนิดหนึ่ง ได้มาโดยการเลียนแบบมาจากตัว อักษรโรมันแล้วนำมาปรับเทียบ กับหน่วยเสียงที่มีอยู่ในภาษามลายู เชื่อว่าเริ่มมีการใช้หลังจากหมู่เกาะ มลายู และแหลมมลายูตกเป็นอาณา นิคมของชาติตะวันตก ต่อมาอักษร ดังกล่าวเริ่มมีบทบาทและเป็นที่นิยม ใช้กันอย่างกว้างขวางจนกลายเป็น ตัวอักษรทางการของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศบรูไน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าตัว อักษรรูมีจะมีบทบาทเป็นที่นิยม อย่างกว้างขวางเพียงใด แต่ก็ไม่อาจ จะทำให้ผู้ที่นิยมในอักษรญาวีจางหาย ตามไปด้วย โดยเฉพาะนักวิชาการ หรือกลุ่มบุคคลที่สอนศาสนาและ บุคคลทั่วไปซึ่งจะเห็นได้ตามโรงเรียน สอนศาสนา, ปอเนาะ, ตาดีกาและ ป้ายประกาศต่าง ๆ รวมถึงทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยด้วย ส่วน ภาษามลายูที่ใช้กันตามพื้นที่ต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนนั้น ก็จะมีลักษณะ ที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามค่านิยม และสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น
ที่มา : http://www.rta.mi.th/data/ytg/data/2556/01-03/11%20AW%20%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%9B.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น